วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรมะหาด


 Lakoocha(มะหาด)



มะหาด (อังกฤษlakoocha) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากทวีปเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทรายดินร่วนปนทราย ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป

ลักษณะ : มะหาดเป็นยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ความสูง 15 - 20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลไหม้เป็นลายแตกละเอียด มีส่วนยอดเป็นพุ่มหนาและทึบ
ใบไม้เป็นใบเดี่ยว ขนาดวงรีจนถึงรูปไข่ กว้าง 5 - 20 เซนติเมตร ยาว 10 - 30 เซนติเมตร ที่ขอบใบมีริวขึ้นโดยรอบ มีขนขึ้นทั้ง 2 ด้านของใบ
ดอกจะออกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน และกลายเป็นผลในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ลักษณะดอกจะมีสีขาวอมเหลืองมีขนาดเล็ก
ผลมีสีเขียว เมื่อสุกจะมีสีเหลือง รัศมีจากจุดศูนย์กลางยาว 2.5 - 5 เซนติเมตร รูปร่างกลมแป้นใหญ่ มีทรงบิ้วเบี้ยวเป็นบางลูก เปลือกนอกผิวขรุขระ เนื้อผลค่อนข้างนุ่ม แต่ละผลมีเมล็ด 1 เมล็ด รูปทรงรี
ประโยชน์ : ต้นมะหาดที่สามารถนำมาใช้ผลประโยชน์ได้นั้นจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 5 ปี

ทางสมุนไพร : 

  • แก่น - ใช้แก่นมะหาดสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ต้มเคี่ยวกับน้ำจนเกิดฟอง ช้อนฟองออก กรองกับผ้าขาวบาง พักสะเด็ดน้ำ แล้ว นำมาตากให้แห้งหรือย่างกับไฟ นำมาบดจะได้ผงสีเหลืองเรียกว่า "ปวกหาด" ใช้ผงประมาณ 3 - 4 กรัมหรือ 1 - 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำสุกที่เย็นแล้ว สามารถผสมน้ำมะนาวลงไปด้วย รับประทานก่อนอาหารเช้า หลังปวดหาดไปแล้ว 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือตาม เพื่อถ่ายตัวพยาธิออกมา สามารถทานแก้อาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อได้หรือนำผงปวกหาดมาละลายกับน้ำ ทาแก้ผื่นคัน
  • ราก - ใช้ลดอาการไข้ แก้กระษัยเส้นเอ็น ขับถ่ายถ่ายพยาธิ แก้พิษร้อน


วิธีและปริมาณที่ใช้ :
  1. ผงปวกหาด  เตรียมได้โดยการเอา แก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวด้วยน้ำไปนานจนเกิดฟองขึ้น แล้วช้อนฟองขึ้นมาตากแห้ง จะได้ผงสีเหลือง นำมาบดให้เป็นผงละเอียด ขนาดรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา (ประมาณ 3-5 กรัม) รับประทานกับน้ำสุกเย็น ก่อนอาหารเช้า หลังจากรับประทานยาปวกหาดแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือ หรือยาถ่ายตาม เพื่อระบายท้อง จะถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือนออกหมด
  2. สำหรับผู้ถ่ายพยาธิตัวตืดใช้ผงมะหาด 1 ช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาให้รับประทานยาถ่ายตาม
  3. สำหรับเด็ก ใช้ยาครึ่งช้อนโต๊ะ ละลายในน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ รับประทานครั้งเดียว อีก 2 ชั่วโมงต่อมาจึงรบประทานยาถ่ายตาม


    ลักษณะของต้นมะหาด




    ลักษณะของต้นมะหาด 


    • มีลำต้นขนาดใหญ่ มีความสูงที่ 15-20 เซ็นติเมตร
    • ความกว้างประมาณ 10-30 เซ็นติเมคร
    • เนื้อไม้เป็นสีน้ำตาลเข้ม
    • เนื้อไม้หยาบ แตกละเอียด
    • ที่ส่วนยอดบนสุดของต้นจะเป็นพุ่มหนาและหนาทึบ
    • เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
    • มีขนทั้งสองด้านของใบขึ้นตามรอบๆ


    ระยะเวลาออกผล

    ดอกของต้นมะหาดจะออกผลประจำในช่วงเดือน 2 – 4 ของทุกปี และจะกลายผลเต็มที่ช่วงเดือน 3 – 5 ของทุกปีตามธรรมชาติ สีขาวอมเหลืองและเล็ก



    ลักษณะของดอกมะหาด

    • ปกติจะเป็นสีเขียว แต่เมื่อผลสุกเต็มที่แล้วจะเป็นสีเหลือง
    • เส้นผ่าศุนย์กลางยาว 2-5 ซม.
    • รูปร่างขนาดใหญ่กลมสมบูรณ์
    • สำหรับทางต้นนั้นอาจจะมีบิดเบี๊ยวบ้างตามธรรมชาติ
    • เนื้อผิวขรุขระ เนื้อนุ่มเนียน


    เนื้อมะหาด
    • มีลักษณะหยาบและแข็งแรง
    • มีความเหนียวและทนทานต่อการกระแทกได้ดี
    • ไม่กลัวปลวก มอด หรือแมลงต่างที่จะมาทำลาย
    • สามารถนำไปเลี้ยงต่อ หรือจะนำไปตบแตงบ้านและสวนได้
    • และนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆง่ายๆได้อีกมาก
    ตามหลักแล้วการที่จะนำต้นมะหาดมาใช้ประโยชน์เพื่อผิวขาวนั้น ทางผู้ผลิตจะต้องเลือกต้นมะหาดที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป

    พบสูตรสมุนไพรไทย 'แก่นมะหาด' ช่วยให้ผิวขาว


    ข่าวจาก นสพ. ผู้จัดการออนไลน์ ฉบับวันที่ 5 ธ.ค. 2545 

    เภสัชศาสตร์ จุฬาฯ พบสูตรสมุนไพรไทย “แก่นมะหาด” ลดความเข้มของเม็ดสีเมลานินในผิวหนัง มีผลทำให้ผิวขาวได้ ปลอดภัยและไม่ทำให้ระคายเคืองผิว 
    รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ (ส.ก.18117 เข้าสวนฯปี 2514; OSK อีกท่านจากสกุลนี้ คือ อภิรักษ์ ลิขิตวิทยาวุฒิ OSK112) และ รศ.ดร.ภาคภูมิ เต็งอำนวย อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งศึกษาวิจัย “สมุนไพรช่วยให้ผิวขาวจากแก่นมะหาด” เปิดเผยว่า สารที่มีคุณสมบัติลดสีผิวและช่วยทำให้ผิวขาว มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกลไกการออกฤทธิ์ ทั้งนี้ สารที่ทำให้เกิดผิวขาวที่นิยมใช้มากที่สุดคือ สารขจัดสีผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรสิเนส ซึ่งทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยา ตั้งต้นของกระบวนการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน สารเหล่านี้ต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาแพง การศึกษาวิจัยสมุนไพรไทยจากแก่นมะหาด เพื่อพัฒนาสารที่ช่วยทำให้ผิวขาว นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการนำเข้าสารเหล่านี้จากต่างประเทศ 
    ผลการทดลองพบว่าปวกหาดมีประสิทธิภาพในการลดความเข้มของสีผิวในหนูตะเภา ต่อมาได้ทำการศึกษาในอาสาสมัครจำนวน 4 คน โดยทาสารสกัดจากแก่นมะหาดที่แขนวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และทำการวัดค่าความเข้มของสีผิวด้วยเครื่อง Mexameter พบว่าแขนที่ทาด้วยสารสกัดจากแก่นมะหาดมีแนวโน้มให้ค่าความเข้มของสีผิวลดลง นอกจากนี้ ยังไม่มีอาการแพ้หรือระคายเคือง ในที่สุดผู้วิจัยได้ศึกษาในอาสาสมัครจำนวนมากขึ้น คือ 60 คน ในระยะเวลา 12 สัปดาห์ โดยแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 คน เป็นเพศหญิง อายุ 20–48 ปี มีสภาพผิวหนังปกติ จากการทาสารสกัดที่ต้นแขนของอาสาสมัครวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เปรียบเทียบกับอาสาสมัครที่ทาด้วยสารสกัดจากชะเอมและกรดโคจิก ผลการทดลองพบว่ากลุ่มอาสาสมัครที่ทาด้วยสารสกัดจากมะหาด จะมีผิวขาวขึ้นเรื่อย ๆ ความขาวของสีผิวจะเห็นผลในระยะเวลาเพียง 4 สัปดาห์ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างมีนัยสำคัญตามระยะเวลาที่ทำการทดลอง นอกจากนี้ ยังไม่พบอาการแพ้หรือระคายเคืองผิวแต่อย่างใด ในขณะที่สารสกัดจากชะเอมและกรดโคจิกให้ผลในการทำให้ผิวขาวในระยะเวลาที่นานกว่า คือ 10 และ 8 สัปดาห์ตามลำดับ 

    ปัจจุบันการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้อยู่ในขั้นตอนการทดลองพัฒนา ตลอดจนศึกษาถึงประสิทธิภาพและความคงตัวเมื่ออยู่ในสูตรตำรับต่าง ๆ เปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นที่เหมาะสมสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์ รวมถึงวิธีการสกัดสารจากแก่นมะหาดให้มีความบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น